การเข้าหัวต่อ RJ-45 กับสายคู่ตีเกลียว เครือข่ายอีเธอร์เน็ตตามมาตรฐาน 10Base-T นับเป็นเครือข่ายที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย ที่สุด มาตรฐาน 10Base-T มีอัตราส่งข้อมูล 10 เมกะบิตต่อวินาทีใช้สายคู่ตีเกลียว UTP ( Unshield Twisted Pair ) และมีโทโปโลยีเครือข่ายแบบดาว ( Star ) โดยใช้ฮับเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อช่วยให้ติดตั้งได้สะดวก อีกทั้งสามารถเพิ่มและลดจุดเชื่อมได้ง่ายหัวต่อที่ใช้กับสายคู่ตีเกลียวเป็นชนิด RJ-45 วิธีการเข้าหัวสายคู่ตีเกลียวกับหัวต่อ RJ-45 ถึงแม้จะไม่มีความสลับซับซ้อนและทำได้โดยไม่ยาก แต่จำเป็นต้องอาศัยความเข้าใจและเทคนิคความชำนาญตลอดจนปฏิบัติตามข้อกำหนด EIA/TIA 568 ซึ่งถือเป็นมาตรฐานที่นิยมใช้ในการเข้าหัวต่อ มาตรฐาน EIA/TIA 568 EIA/TIA 568 เป็นมาตรฐานที่กำหนดขึ้นโดยความร่วมมือของ 3 องค์กร ได้แก่ สำนักงานมาตรฐานแห่งสหรัฐอเมริกา ( American National Standards Institute : ANSI ) , สมาคม อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Industries Association : EIA ) และสมาคม อุตสาหกรรมโทรคมนาคม ( Telecommunications Industry Association : TIA ) โดยใช้ชื่อ มาตรฐานว่า “ EIA/TIA 568 Commercial Building Telecommunication Wiring Standard “ และนำออกใช้เมื่อเดือนกรกฎาคม 1991 มาตรฐานนี้กำหนดรูปแบบการเดินสายโดยใช้โทโปโลยีแบบดาว (Star) เน้นการใช้สายสื่อสารทั้งแบบ UTP ชนิด 3, 4 และ 5 , สาย STP ( Shield Twisted Pair )แบบ 150 โอห์ม และใยแก้วนำแสงแบบ 65.5/125 ไมโครเมตร ในบทความนี้จะกล่าวถึงมาตรฐาน EIA/TIA 568 สำหรับสายคู่ตีเกลียวแบบ UTPรูปแบบการเดินสายสัญญาณการเดินสายสัญญาณโดยทั่วไป สามารถทำได้ 2 แบบ คือการลากสายโดยตรงระหว่างอุปกรณ์ที่ต้องการต่อ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์กับฮับ การต่อแบบนี้จะใช้สายหนึ่งเส้นต่อการเชื่อมต่อหนึ่งจุด ซึ่งมีข้อดีคือ ง่ายต่อการเชื่อมต่อ การติดตั้งไม่ตายตัว สามารถเปลี่ยนแปลง เคลื่อนย้ายจุดที่ตั้งของอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ง่าย การต่อแบบนี้เหมาะสำหรับเครือข่ายขนาดเล็กที่มีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่มากนัก หรือทั้งระบบอยู่รวมกันในห้องเดียว ดังตัวอย่างในรูปที่ 1. รูปที่ 1. การเชื่อมต่อแบบดาวอย่างง่ายโดยการต่อตรงระหว่างฮับและเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนการเดินสายอีกแบบ จะมีการใช้หัวต่อตัวเมียซึ่งมีลักษณะคล้ายช่องเสียบโทรศัพท์ แต่ มีขนาดใหญ่กว่า เข้ามาช่วยเป็นจุดพักซึ่งติดไว้ที่ผนังหรือพื้นห้อง ส่วนการต่อกับเครื่อง คอมพิวเตอร์จะใช้สายที่มีหัวต่อ RJ-45 ทั้ง 2 ด้าน ซึ่งมักมีความยาวไม่มากนักเรียกว่าสายแพ็ทธ์ ต่อ ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์และหัวต่อตัวเมียอีกที นอกจากนี้ อาจใช้แผงพักสาย ( Patch Panels ) สำหรับการต่อเข้าหาฮับ เพื่อให้ง่ายต่อการดูแลตรวจสอบ ดังรูปที่ 2. และ 3.สายที่ใช้มักฝังผนัง , ลอดบนฝ้า หรือไว้ใต้พื้น การเดินแบบนี้ มักทำเตรียมไว้ขณะกำลังสร้างตึกเลย จึงต้องมีการ ออกแบบและวางแผนให้ดีก่อนการติดตั้ง เพราะจุดเชื่อมต่อแต่ละจุดจะค่อนข้างตายตัว การ เปลี่ยนแปลงเคลื่อนย้ายจุดทำได้ลำบาก การเดินแบบนี้เสียค่าใช้จ่ายมากขึ้นเล็กน้อยเพราะต้องใช้ อุปกรณ์เพิ่มขึ้น แต่จะมีความเป็นระเบียบดีกว่าการเดินโดยตรง เพราะไม่ต้องมีสายระโยงระยาง มาก จึงเหมาะสำหรับการเดินสายทั่วทั้งตึก ซึ่งอาจมีหลาย ๆ ชั้น แต่ละชั้นมีห้องหลายห้อง ![]() รูปที่ 2.แผงพักสาย ( Patch Panels ) ![]() รูปที่ 3. การเดินสายเครือข่ายผ่านแผงพักสาย ลักษณะของสายคู่ตีเกลียว สายคู่ตีเกลียวเป็นสื่อนำสัญญาณที่พบเห็นได้ทั่วไป โดยเฉพาะในระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ สามารถส่งผ่านสัญญาณแบบอะนาลอกหรือดิจิตอลได้ การส่งสัญญาณดิจิตอล สามารถรองรับการส่งผ่านข้อมูลที่อัตราเร็วสูงได้ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในช่วง 10 - 100 เมกะบิตต่อวินาที ภายในสายประกอบด้วยสายนำสัญญาณ 4 คู่ แต่ละคู่จะมีสายสี และสายสีสลับกับสีขาวเป็นริ้ว เพื่อให้การเลือกต่อสายที่ปลายทั้งสองถูกต้อง แต่ละคู่สีจะพันกันเป็นเกลียวตลอดความยาวของสาย เพื่อลดสัญญาณรบกวนในสาย โดยกำหนดสายและเรียกคู่สายดังรูปที่ 4. ในการเชื่อมต่อต้องมีการ คลายเกลียวบริเวณจุดที่ต้องเข้าหัว ซึ่งไม่ควรคลายเกลียวเกิน 0.5 นิ้ว สายแต่ละสีมีรหัสเรียกดังนี้ 1. grn ( เขียว ) 2. wh/grn ( ขาวสลับเขียว ) 3. or ( ส้ม ) 4. wh/or ( ขาวสลับส้ม ) 5. blu ( ฟ้า ) 6. wh/blu ( ขาวสลับฟ้า ) 7. brn ( น้ำตาล ) 8. wh/brn ( ขาวสลับน้ำตาล ) ![]() รูปที่ 4. สัญลักษณ์การกำหนดสีและเรียกคู่สาย มาตรฐานการต่อมี 2 แบบ คือ แบบ T568A และ T568B ซึ่งมีวิธีการเรียงสีแตกต่างกัน ผู้ใช้ควรเลือกใช้แบบใดแบบหนึ่ง สำหรับ การเชื่อมต่อแบบ 10Base-T จะใช้สายคู่ส้มและเขียว ส่วนอีก 2 คู่คือน้ำตาลและฟ้า อาจใช้กับเครือข่ายอีกหนึ่งวง หรือสำหรับการเชื่อมต่อสายโทรศัพท์ โดยทั่วไปส่วนใหญ่อุปกรณ์ต่าง ๆ มักนิยมใช้แบบ T568B มากกว่า ที่สำคัญคือการเลือกใช้ควรใช้ แบบเดียว ไม่ควรผสมทั้งสองแบบ เพราะจะทำให้สับสนได้ บทความนี้จะยึดมาตรฐาน T568B เป็น หลัก อุปกรณ์ที่ใช้ ในการเข้าหัว RJ-45 1. หัวต่อ RJ-45 หัวต่อตัวผู้เป็นอุปกรณ์สำหรับใส่ที่ปลายสาย UTP มีลักษณะเป็นพลาสติกสี่เหลี่ยมคล้าย หัวต่อโทรศัพท์ มีช่องสำหรับเสียบสายที่ด้านหลัง ด้านล่างเรียบ ส่วนด้านบนมีตัวล๊อค ถ้าหันหน้า เข้าด้านหน้าของหัวต่อพิน 1 จะอยู่ทางด้านซ้ายมือของเรา ในขณะที่พิน 8 จะอยู่ทางขวามือ ดังรูปที่ 5. หัวต่อตัวผู้อาจมีการเรียกได้หลายแบบเช่น RJ-45 Connecter หรือ RJ-45 Jack Plug ![]() รูปที่ 5. หัวต่อ RJ-45 ตัวผู้ ( ซ้าย ) และตัวเมีย ( ขวา ) สำหรับหัวต่อตัวเมียเป็นเบ้าเสียบสำหรับหัวต่อ RJ-45 ตัวผู้ เมื่อมองจากด้านที่จะนำหัวต่อ ตัวผู้เสียบ พิน 8 จะอยู่ทางซ้าย ส่วนพิน 1 จะอยู่ทางขวา หัวต่อตัวเมียจะมีลักษณะเป็นกล่องมีช่อง สำหรับเสียบหัวต่อ ด้านในกล่องจะมีขั้ว ซึ่งจะเป็นส่วนที่เชื่อมกับสายนำสัญญาณจริง ๆ ดังรูปที่ 6. และ 7. หัวต่อตัวเมียอาจเรียกว่า Female Outlet ก็ได้ ส่วนตัวขั้วอาจเรียกว่า Jack Face ![]() รูปที่ 6. หัวต่อตัวเมีย ส่วนที่ต่อกับผนัง ![]() รูปที่ 7. ตัวขั้วที่ต่อกับสาย UTP 2. คีมเข้าหัวสาย ( Plug Crimper ) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับบีบหัว RJ-45 ตัวผู้ใส่ยังสาย มีลักษณะเป็นคีมหนีบ ประกอบด้วย ช่องสำหรับใส่หัว RJ-45 และ RJ-11 ( หัวต่อแจ็คโทรศัพท์ ) มีใบมีดสำหรับปอกและลอกเปลือก สาย ดังรูปที่ 8. ![]() รูปที่ 8. คีมเข้าหัวสาย 3. ตัวกระแทกสาย ( Punch Down Tool ) เป็นอุปกรณ์สำหรับการเข้าสายกับแผงพักสาย เป็นเครื่องสำหรับตอกสายใส่ในรอยบาก ประกอบด้วยใบมีดแบบ T-110 สำหรับสาย UTP และ T-66 สำหรับหัวต่อ RJ-11 หรือ สายโทรศัพท์โดยแต่ละใบมีดจะมีปลายสองด้านถอดสลับใช้งานได้ ด้านหนึ่งสำหรับใช้ตอก ส่วน อีกด้านสำหรับตัดสาย ดังรูปที่ 9. ![]() รูปที่ 9. ตัวกระแทกสาย การเข้าหัว RJ45 ตัวผู้ มีขั้นตอนดังนี้ 1. ปอกเปลือกสาย UTP ด้านที่ต้องการต่อ ยาวประมาณ 0.5 - 1 นิ้ว ดังรูปที่ 10. ![]() รูปที่ 10. สาย UTP ที่ปอกเปลือกออก 2. คลายเกลียวที่สายทั้ง 4 คู่ 3. จัดสายเรียงสีให้ได้ตามมาตรฐาน เช่นตามมาตรฐาน T568B จัดให้สายเรียงขนานกัน ไปและต้องระวังมิให้จัดสายผิดหรือกลับด้านกัน โดยถ้าหันปลายสายออกจากตัวเรา สายเส้นที่หนึ่ง จะอยู่ทางซ้ายมือสุด ซึ่งด้านนี้เมื่อต่อกับหัว RJ-45 ด้านที่มีก้านตัวล๊อกจะอยู่ด้านล่าง ส่วนด้านบน จะเป็นด้านที่เรียบ ลำดับการจัดพินตามมาตรฐาน EIA/TIA 568B แสดงได้ดังรูปที่ 11. หรือดังนี้ ![]() ความหมายของคำต่าง ๆ มีดังนี้ pin แทนช่องแต่ละช่องในหัวต่อ RJ-45 ที่จะนำสาย UTP เข้าไปต่อด้วย pair แทนคู่ของสายแต่ละคู่ทั้งสี่คู่ในสาย UTP name แทนหน้าที่ของสายแต่ละเส้นที่ใช้ส่งข้อมูลจริง ตามมาตรฐาน T568 ซึ่งจะมีทั้งรับและส่ง ข้อมูล โดยแต่ละทางของการส่งข้อมูลจะใช้แรงดันไฟเป็น 2 ขั้ว เพื่อให้มีการหักล้างกันของ สัญญาณในสายเพื่อการลดสนามแม่เหล็กที่อาจส่งผลกระทบต่อการส่งข้อมูล ![]() รูปที่ 11. การเรียงสีตามมาตรฐาน T568B 4. ใช้มือรีดสายทั้งแปดเส้นที่เรียงกันถูกต้องแล้ว ให้ขนานและเรียบ ไม่ให้มีการซ้อนเกย กัน 5. ตัดปลายสายทั้งแปดเส้น ให้ปลายเรียบเสมอกัน โดยตัดให้ห่างจากเปลือกนอกของสาย ไม่เกิน 0.5 นิ้ว 6. ใช้มือหนีบสายทั้งแปดเส้นให้แน่น และค่อย ๆ สอดเข้าไปในตัวหัวต่อ RJ-45 ตัวผู้ โดย ให้ปลายทั้งแปดเข้าไปเสมอกันตลอด ดังรูปที่ 12. ถ้ามีการเหลื่อมกันหรือปลายไม่เสมอกันควรนำ สายออกมาจัดใหม่ สอดปลายสายเข้าไปจนสุดหัวต่อ ซึ่งเมื่อมองดูที่หัวต่อใกล้ ๆ ที่ด้านปลาย จะต้องมองเห็นปลายสายทั้งแปดเส้น ชนกับสุดปลายด้านในของหัวต่อ RJ-45 ถ้าปลายสายทั้งแปด ไม่เสมอกัน หรือบางเส้นไม่ชนสุดปลายของหัวต่อ ควรทำใหม่ ![]() รูปที่ 12. การตัดปลายสายก่อนจะใส่ 7. เมื่อเห็นว่าปลายสายถูกต้องดีแล้ว ใช้คีมหนีบที่หัวต่อ บีบให้แน่น เพื่อให้สายและหัวต่อ แนบสนิทกัน ดังรูปที่ 13. ถ้าบีบไม่แน่น อาจทำให้สายมีปัญหาได้เมื่อใช้งานจริง ![]() รูปที่ 13. การใช้คีมหนีบหัวต่อ RJ-45 ให้แน่น 8. เมื่อเข้าหัวทั้งสองด้านแล้วควรตรวจสอบว่าใช้งานได้จริง หากต้องการเข้าหัวต่อตามมาตรฐาน T568A ให้จัดสายตามรหัสสีดังนี้ ![]() นอกจากนี้ ในกรณีที่ต้องการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงสองเครื่องเข้าด้วยกัน โดยไม่ ต้องการใช้ฮับ แต่เป็นการต่อระหว่างทั้งสองเครื่องโดยตรง เช่นการต่อเครื่องที่ใช้ ระบบปฏิบัติการ วินโดว์95 สองเครื่องเข้าด้วยกัน ก็สามารถทำได้ โดยใช้การไขว้สายหรือการสลับสายที่ปลาย หัวต่อของสายอีกด้านหนึ่ง เช่นตามมาตรฐาน T568B ด้านหนึ่งต่อตามแบบปกติ ส่วนอีกด้านให้ต่อ ดังนี้ ![]() การต่อสาย UTP เข้ากับหัวต่อตัวเมีย หัวต่อตัวเมีย จะใช้ฝังไว้ตามกำแพงหรือพื้นห้องเป็นจุด ๆ สำหรับให้ต่อกับเครื่อง คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ในระบบเครือข่าย หัวต่อตัวเมียมีลักษณะเป็นเบ้าเสียบ ภายในจะมีตัวขั้วซึ่งเป็น ส่วนที่ต่อกับสาย UTP ส่วนที่เชื่อมโยงกับแผงพักสาย ซึ่งโดยทั่วไปจะอยู่ในห้องศูนย์กลางหรือ ห้องควบคุมระบบเครือข่ายนั้น ๆ หรืออาจจะต่อกับฮับโดยตรงเลยก็ได้ โดยอีกด้านจะต่อเป็นหัว RJ-45 ตัวผู้ใช้เสียบกับฮับ ตัวขั้ว ( Jack Face ) จะต้องมีการระบุได้ด้วยว่า ใช้กับมาตรฐานใด T568A หรือ T568B ใช้กับสาย คู่ตีเกลียวประเภท ( CATEGORY )ใด โดยทั่วไปตามท้องตลาดมักจะเป็น CAT3 หรือ CAT5 การใช้งานควรจะใช้ตามที่ระบุไว้ ตัวขั้วจะมีปลายสองด้าน ด้านหนึ่งจะมีช่องสำหรับเสียบหัวต่อ RJ-45 ตัวผู้ ด้านนี้จะเป็นด้านที่หันออกจากผนังหรือพื้น อีกด้านจะเป็นด้านที่สำหรับนำสาย UTP เข้ามาใส่ ตัวขั้วจะมีช่องเป็นรอยบากแคบ ๆ สำหรับใส่สายแปดช่อง แบ่งเป็นสองด้านมี ช่องว่างตรงกลางระหว่างทั้งสองด้าน ด้านละสี่ช่อง ถ้าให้ด้านที่ใช้ต่อกับ RJ-45 ตัวผู้เป็นด้านบน ตามมาตรฐาน T568B ช่องด้านซ้ายจะสำหรับสายคู่เขียวและน้ำตาล ด้านขวาคู่ฟ้าและส้ม ซึ่งจะมีสี กำกับไว้ที่ระหว่างช่องของแต่ละคู่ โดยในแต่ละคู่ ด้านบนให้ใส่สายสีริ้วด้านล่างจึงเป็นสายสีนั้น ๆ เช่นฝั่งด้ายซ้ายสำหรับคู่สีเขียวและน้ำตาล จะใส่สายดังนี้คือ ขาวเขียว-เขียว-ขาวน้ำตาล-น้ำตาล ส่วนด้านขวาจะเป็น ขาวฟ้า-ฟ้า-ขาวส้ม-ส้ม แต่ทั้งนี้ผู้ผลิตตัวขั้วอาจจัดรูปแบบสีแตกต่างจากนี้ได้ ซึ่งผู้ผลิตจะมีใบคู่มือกำกับมาให้ ก่อนการใช้งานจริงจึงควรตรวจสอบให้แน่ใจก่อน ส่วนแผงพัก สายจะมีลักษณะคล้ายกับตัวขั้วที่เรียงติดกันหลาย ๆ ตัวเป็นแนวเดียวกัน ดังรูปที่ 14. รูปแบบการ ใส่สายในแผงพักสายควรดูตามคู่มือกำกับของแผงพักสายนั้น ๆ ![]() รูปที่ 14. แผงพักสายที่ยังไม่ได้ต่อสาย การใส่สายให้กับตัวขั้ว มีขั้นตอนดังนี้ 1. ปอกเปลือกหุ้มสาย UTP ออกให้ยาวประมาณ 1-1.5 นิ้ว 2. นำสาย UTP สอดไปช่องตรงกลางของตัวขั้ว โดยแยกสายทั้งสี่คู่ออกเป็นสองด้านตาม คู่สีให้มีลักษณะคล้ายตัว T ดังรูปที่ 15. ![]() รูปที่ 15. การแยกสาย UTP ใส่ลงในตัวขั้ว 3. จัดสายแต่ละสีสอดเข้าไปตามช่องรอยบากสำหรับแต่ละสี สอดโดยการอ้อมจากด้าน นอกของตัวขั้ว เข้าสู่ช่องหนีบ ปลายสายจะชี้เข้าหาด้านตรงกลางของตัวขั้ว ดังรูปที่ 16. ![]() รูปที่ 16. การสอดสายไฟเข่าสู่รอยบากของตัวขั้ว 4. ใช้ตัวกระแทกสาย ตอกหรือกดสายลงไประหว่างช่องรอยบากให้แน่น ถ้าไม่มีไม่มีตัว กระแทกสาย อาจใช้ด้านสันของคัตเตอร์กดแทนก็ได้ ทำจนครบทั้งแปดเส้น ดังรูปที่ 17. ![]() รูปที่ 17. การใช้ตัวกระแทกสาย กดสายลงไประหว่างช่องรอยบาก การตรวจสอบข้อบกพร่องของสาย และหัวต่อ ในปัจจุบัน มีการผลิตอุปกรณ์สำหรับตรวจการทำงานและหาข้อบกพร่องของสาย ( Tester ) ออกมาจำหน่ายหลายผลิตภัณฑ์ หลายชนิด หลายยี่ห้อ ดังรูปที่ 18. ซึ่งโดยทั่วไปจะมี ลักษณะเป็นอุปกรณ์สำหรับใส่ที่ปลายสายทั้งสองด้าน จะมีการส่งสัญญาณ และแสดงผลการทำงาน ออกมา ซึ่งการใช้อุปกรณ์ดังกล่าว จะทำให้สะดวกและประหยัดเวลา บางผลิตภัณฑ์สามารถบอกถึง ความยาวของสายได้ด้วย ดังตัวอย่างที่ผู้เขียนใช้ของ Hewlett Packard รุ่น HP340 SCANNER ซึ่ง มี ฟังก์ชันในการตรวจสอบทำงานได้หลายอย่าง ไม่เฉพาะแต่การตรวจสอบสาย UTP และหัวต่อ RJ-45 เท่านั้น ![]() รูปที่ 18.อุปกรณ์ตรวจสอบแบบต่าง ๆ การตรวจสอบเมื่อนำปลายหัวต่อสายทั้ง 2 ด้านต่อเข้ากับอุปกรณ์ตรวจ เครื่องจะรายงาน ผลออกมาเป็นตัวเลข 1 ถึง 8 ซึ่งตัวเลขแต่ละตัวจะแทนสายแต่ละสาย การรายงานจะรายงานเป็น ตัวเลขสองบรรทัดที่ต้องตรงกันทั้งสองบรรทัดและแสดงออกมาครบทั้ง 1 ถึง 8 จึงจะแสดงว่าสาย และหัวต่อไม่มีข้อบกพร่อง เช่น 12345678 12345678 แต่ถ้าตัวเลขบางตัวขาดหายไป หรือ มีการสลับตัวเลขกัน เช่น 12345678 12_46578 แสดงว่ามีข้อบกพร่องเกิดขึ้น ถ้าเป็นกรณีตัวเลขหายให้ลองใช้คีมหนีบ บีบที่หัว RJ-45 อีกครั้งให้ แน่น ๆ ถ้าแน่ใจว่าหัวใช้ได้ หรือบีบแน่นดีแล้ว แสดงว่าอาจเกิดจากเส้นลวดในสาย ซึ่งกรณีนี้มักไม่ ค่อยพบมากนักเพราะข้อบกพร่องส่วนใหญ่มักเกิดจากการบีบหัว RJ-45 ไม่แน่นมากกว่า ส่วนกรณี ที่ตัวเลขสลับกันแสดงว่าใส่สายผิดที่เส้นนั้น ให้ตรวจสอบดูสายด้านที่ต่อผิด จากนั้นตัดหัวต่อ RJ- 45 ด้านนั้นทิ้งและจัดการเข้าหัวใหม ในกรณีที่ไม่มีอุปกรณ์ตรวจสอบ อาจใช้เศษสายไฟซึ่งอาจเป็นเศษสายเส้นใดเส้นหนึ่งของ สาย คู่ตีเกลียว ที่ตัดออกมา เชื่อมที่ปลายด้านหนึ่งทีละคู่ และใช้โอห์มมิเตอร์ ตรวจดูที่ปลายสายอีก ด้าน ทำทีละคู่ถ้าเข็มอยู่ที่ตำแหน่งศูนย์โอห์มแสดงว่าใช้ได้ ถ้ามีความต้านทานเกิดขึ้นในวงจร แสดงว่ามีข้อบกพร่องเกิดขึ้นที่สายคู่นั้น่ ข้อแนะนำในการเดินสาย คู่ตีเกลียว • ควรใช้สาย UTP ที่ได้มาตรฐาน UL และควรเป็น CAT5 • ในการเข้าหัวหรือปอกปลายสาย ไม่ควรปอกและคลายเกลียวยาวเกิน 0.5 นิ้ว • ระยะทางจากหัวต่อ และเกลียวภายในสายไม่ควรเกิน 0.25 นิ้ว • ไม่ควรรัดหรือผูกสายให้แน่นเกินไป • ไม่ควรทำให้สายงอหรือหักมากเกินไป • ไม่ควรจัดวางสายใกล้อุปกรณ์ที่อาจทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก เพราะอาจเกิดการรบกวนได้ • ไม่ควรกระชากสาย หรือดึงจนตึงในขณะติดตั้ง • ต้องติดสัญลักษณ์ที่ปลายสายทั้งสองด้านเพื่อให้สามารถจำแนกสายแต่ละเส้นออกจากกัน ได้ • สายที่ใช้เชื่อมระหว่างฮับและหัวต่อตัวเมียไม่ควรยาวเกิน 90 เมตร เนื่องจากต้องเตรียม สายแพ็ทธ์สำหรับเชื่อมระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์และหัวต่อตัวเมียอีกประมาณ 10 เมตร ถ้าต่อให้ ยาวเกินกว่า 100 เมตรจะทำให้เกิดการลดทอนของสัญญาณมาก Credit: |
วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
การเข้าหัวต่อ RJ-45 กับสายคู่ตีเกลียว
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น